วิชา ระบบสื่อสารแอนะลอก
หน่วยที่ 6 ชื่อหน่วย เฟสล็อคลูป จำนวน 6 คาบ
ใบงานที่ 3 ชื่องาน การสังเคราะห์ความถี่ จำนวน 3 คาบ
เพื่อศึกษาการสังเคราะห์ความถี่ด้วย PLL
1.
สร้างตัวสังเคราะห์ความถี่แบบ Direct จาก PLL ได้
2.
สร้างตัวสังเคราะห์ความถี่ด้วย Presealer ได้
3.
สร้างตัวสังเคราะห์ความถี่โดยใช้มิกเชอร์ได้
1.1
หลักการทั่วไปของ PLL
ต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงหลักการสำคัญของระบบ PLL (Phase Locked Loop) โดยรายละเอียดนั้นสามารถหาอ่านได้จากคู่มือทฤษฎีและการทดลองของแผงทดลอง PLL นี้
โดยปกติระบบ PLL จะประกอบด้วยส่วนการทำงาน 3 ส่วนดังนี้
-
ตัวเปรียบเทียบเฟส
-
ตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่าน
-
ภาคกำเนิดสัญญาณที่ควบคุมด้วยแรงดัน(VCO)
ตัวเปรียบเทียบเฟสจะทำหน้าที่เปรียบเทียบความต่างเฟสระหว่างสัญญาณอินพุตกับสัญญาณที่ได้จากภาคกำเนิดสัญญาณที่ควบคุมด้วยแรงดัน VCO เอาต์พุตที่ได้ Vd จะแทนความหมายของค่าความต่างเฟสระหว่างสัญญาณทั้งสอง
แรงดัน Vd นี้จะนำไปผ่านตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่าน (หรือ Loop filter) แล้วจึงป้อนให้กับภาค VCO ต่อไป
สัญญาณที่ป้อนให้กับ VCO คือVe นั้นจะทำให้ความถี่ที่ได้จากภาค VCO เปลี่ยนไปตามค่าของมัน นั่นย่อมหมายความว่าความต่างเฟสของสัญญาณอินพุตกับสัญญาณจากภาค VCO จะมีค่าลดน้อยลงเมื่อระบบสามารถ
ล็อกความความถี่ได้ ซึ่งแรงดันควบคุมจะเท่ากับค่าเฉลี่ยทางความถี่ของสัญญาณอินพุต เมื่อระบบไม่มีสัญญาณอินพุต ภาค VCO จะกำเนิดสัญญาณที่มีความถี่ค่าหนึ่งเรียกว่า Free running frequency fo
-234-
1.2
การสังเคราะห์ความถี่ด้วย PLL
ตัวอย่างการใช้งานแบบหนึ่งของระบบ PLL คือการสังเคราะห์ความถี่ ในระบบส่วนมากที่ใช้งานนั้นจะใช้ในการสร้างความถี่ต่าง ๆ ที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง
รูปที่ 1.2 แสดงรูปแบบการทำงานของวงจรสังเคราะห์ความถี่ ซึ่งเราสามารถสร้างขึ้นมาได้โดยใช้วงจร PLL ด้วยการแทรกตัวหารที่สามารถโปรแกรมค่าได้ระหว่างเอาต์พุตของภาค VCO กับอินพุตของตัวเปรียบเทียบเฟส
รูปที่ 1.1 ไดอะแกรมของระบบ PLL
ลักษณะเช่นนี้จะทำให้วงจร PLL ล็อกความถี่ที่ได้จากเอาต์พุตของตัวหารความถี่ fNซึ่งจะมีค่าเท่ากับความถี่
อ้างอิง fRและจะมีค่าดังนี้
fR
= fN = fo/N
จะได้
fo
= N.fR
-235-
จากสมการที่ได้เราสามารถสร้างสัญญาณความถี่ fo ที่มีค่าตามต้องการได้ โดยมีค่าเทียบกับความถี่ fR ที่ถูกสเกลด้วยค่าของตัวหาร N
เพราะฉะนั้นวงจรสังเคราะห์ความถี่นี้จึงเป็นเครื่องกำเนิดสัญญาณแบบหนึ่ง โดยมีเอาต์พุตที่มีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่อ้างอิง
ถ้าต้องการให้เครื่องกำเนิดสัญญาณความถี่นี้มีค่าความถูกต้องและมีเสถียรภาพมากขึ้งทำได้โดยการใช้สัญญาณความถี่อ้างอิงที่มีความถูกต้องและมีเสถียรภาพ เพราะฉะนั้นเราจึงควรใช้ตัวกำเนิดสัญญาณแบบควอตซ์เพื่อสร้างสัญญาณความถี่อ้างอิง ซึ่งจะทำให้เราได้เครื่องกำเนิดสัญญาณความถี่ที่มีความถูกต้องและมีเสถียรภาพ
1.3.1 การสังเคราะห์ความถี่ด้วยวิธี Direct
รูปที่ 1.3 แสดงวงจรอย่างง่ายที่สุดของการสังเคราะห์ความถี่ ซึ่งความถี่นั้นจะถูกสร้างขึ้นจากการทำงานของผลึกควอตซ์ และถูกหารด้วยค่า N ซึ่งจะทำให้เราได้สัญญาณความถี่ที่ต้องการ fo เมื่อเราป้อนความถี่อ้างอิง
fR ซึ่งาจะทำให้ความถี่ทั้งสองมีความสัมพันธ์ดังนี้
fR
= fo/N
-236-
ดังนั้นสัญญาณความถี่เอาต์พุตที่ได้จึงมีค่าเป็นกี่เท่าของความถี่อ้างอิงดังนี้
fo
= N.fR
ตัวสังเคราะห์ความถี่แบบนี้เราจะเห็นได้จากรูปที่ 1.3 ซึ่งความถี่เอาต์พุตที่ได้จะถูกจำกัดด้วยตัวหารที่
โปรแกรมได้
ในปัจจุบันพบว่าเครื่องกำเนิดสัญญาณความถี่ที่ใช้ตัวหารความถี่ที่โปรแกรมได้สามารถให้สัญญาณความถี่
เอาต์พุตได้สูงสุดประมาณ 10 MHz ซึ่งเป็นค่าความถี่สูงสุด fo
หัวข้อต่อไป
-237-
รูปที่ 1.3
สังเคราะห์
ความถี่ด้วย
วิธี Direct
-238-
1.3.2 การสังเคราะห์ความถี่ด้วยการคูณเอาต์พุต
ความถี่เอาต์พุตของเครื่องสังเคราะห์ความถี่ที่แสดงในรูปที่ 1.3 นั้นสามารถนำมาคูณด้วยค่า H โดยใช้วงจรคูณความถี่ที่มีไดอะแกรมการทำงานตามรูปที่ 1.4 ซึ่งจะทำให้ความถี่ของสัญญาณเอาต์พุตมีค่าดังนี้
fo
= N.(H.fR)
แต่เครื่องสังเคราะห์ความถี่ตามรูปที่ 1.4 จะมีข้อเสียอยู่ 2 ข้อดังนี้
1) วงจรคูณความถี่ที่เราใช้จะไม่มีปัญหาแต่ประการใด ถ้าในระบบของเรานั้นมีเพียงความถี่เดียวที่ถูกคูณ หรือ ความถี่ที่ถูกคูณนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าเราต้องการความถี่ที่มีค่า
มาก ๆ นั้นเราจะต้องใช้วงจรที่ทำให้สามารถคูณค่าความถี่ออกมาได้อย่างถูกต้องและวงจรคูณความถี่
ที่ใช้จะต้องมีการจำกัดแบนด์วิดธ์เพื่อให้ได้ช่วงความถี่ที่ต้องการเท่านั้น
2) การเปลี่ยนแปลงทางความถี่เพียงเล็กน้อยจากภาค VCO ซึ่งจะทำให้ความถี่ที่คูณได้ด้วย H เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่มีค่ามาก
X H LOW-PASS FILTER PHASE COMPARATOR
fR Fo
Fo = N(H.FR)
¸N
-239-
1.3.4 การสังเคราะห์ความถี่ด้วยการเปลี่ยนความถี่(โดยใช้มิกเซอร์)
เรามีวิธีการ 2 วิธีในการสังเคราะห์ความถี่ด้วยวิธีการเปลี่ยนความถี่คือ การเปลี่ยนความถี่ให้สูงขึ้น ตามรูปที่ 1.6 และการเปลี่ยนความถี่ให้ลดต่ำลง ตามรูปที่ 1.7
จากวงจรในรูปที่ 1.6 ความถี่เอาต์พุต foที่ได้จากการสังเคราะห์ความถี่จะถูกเปลี่ยนความถี่ให้มีค่าสูงขึ้นคือ
fo =
fL + NfRโดยใช้ตัวมิกเซอร์ และภาคกำเนิดคลื่นสัญญาณความถี่ที่ใช้ผลึกควอตซ์ในการสร้างสัญญาณความถี่
fL
ในกรณีของวิธีการนี้ก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกันกับวิธีการในหัวข้อที่ 1.3.2 ซึ่งจำเป็นต้องใช้วงจรจูนที่เอาต์พุต ซึ่งทำให้วงจรมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้นภาคกำเนิดสัญญาณท้องถิ่นที่ใช้จะไม่รวมอยู่ในวงจร PLL ซึ่งทำให้ค่าความผิดพลาดที่เกิดจากภาคกำเนิดสัญญาณท้องถิ่นถูกแก้ไขด้วย PLL โดยอัตโนมัติทำให้ไม่จำเป็นต้องวงจรจูนที่เอาต์พุต แต่ภาค VCO นี้จะ
สร้างสัญญาณความถี่โดยตรงมีค่าเท่ากับ fL + NfR
MIXER V C O LOW-PASS FILTER PHASE COMPARATOR
X
fR fo =
N.fR fo
= fL + NfR
fL
¸
N
-240-
1.3
ฟังก์ชั่นถ่ายโอนและการตอบสนองทรานเชียนต์
การวิเคราะห์หาฟังก์ชั่นถ่ายโอนและการตอบสนองทรานเชียนต์นั้นมีความสำคัญมากสำหรับการออกแบบตัวสังเคราะห์ความถี่
พิจารณาไดอะแกรมในรูปที่ 1.8 ซึ่งเป็นไดอะแกรมของการสังเคราะห์ความถี่โดยแต่ละบล็อกนั้นจะมีฟังก์ชั่นถ่ายโอนบอกไว้
สัญญาณอ้างอิงที่มีเฟส qRและที่เอาต์พุตของภาค VCO นั้นจะมีเฟสเป็น qO
เอาต์พุตของตัวเปรียบเทียบเฟสนั้นจะแปรผันโดยตรงต่อค่าความแตกต่างระหว่างเฟสของอินพุตทั้งสองและอัตราการขาย KDดังนี้
Vd
= KD( q
R - qO) = KD Dq
ซึ่งเราสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากเฟสได้โดยการใช้วงจรกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่านเพื่อลดค่าความผิดพลาดและป้องกันสัญญาณความถี่สูง
ทำให้เราได้แรงดัน Vd
-241-
รูปที่1.8
ไดอะแกรมตัวสังเคราะห์ความถี่
-242-
ฟังก์ชั่นถ่ายโอนของวงจรกรองสัญญาณคือ F(s)
ความถี่ที่ได้จากภาค VCO นั้นจะมีค่าแปรผันตามแรงดันเอาต์พุตของวงจรกรองสัญญาณ Ve
ความถี่เอาต์พุตจากภาค VCO นั้นถูกกำหนดโดยแรงดัน Veและอัตราการขยาย Koดังนี้
wo
= KO - Ve
จากรูป
q R(S) = เฟสของสัญญาณอ้างอิง
qO(S) = เฟสของสัญญาณเอาต์พุต
Vd (S) = แรงดันเอาต์พุตของภาคเปรียบเทียบเฟส
F(S) = ฟังก์ชั่นถ่ายโอนของวงจรกรองสัญญาณ
Ve(S) = แรงดันที่เกิดจากความผิดพลาด
KD = อัตราการขยายของภาคเปรียบเทียบเฟส
(โวลต์/เรเดียน)
KO = อัตราการขยายของ VCO
1/N = ตัวหารของตัวหารความถี่
ปกติแล้วความถี่ก็คืออนุพันธ์ของเฟส การทำงานของภาค VCO นั้นสามารถอธิบายได้ด้วยความสัมพันธ์นี้ดังนี้
dqo
= KO.Ve
dt
จากการแปลงลาปาซของสมการข้างบนนี้เราจะได้
L() = SqO(S)
= KO.Ve(S)
เมื่อ
q O(S)
=
-243-
นั่นหมายความว่าเฟสเอาต์พุตของสัญญาณจากภาค VCO นั้นแปรผันโดยตรงต่อผลการอินทรีเกรตของแรงดัน
ควบคุม Ve
โดยการหาการแปลงลาปาซของสมการของระบบ PLL ทั้งหมดดังนี้
Vd(S)
= KD[qR(S)
- qN
(S)]
Ve(S)
= F(S).Vd(S)
qO(S)
=
เมื่อ
wn
=
จากนั้นใช้ตัวกรองสัญญาณตามรูปที่ 1.10 ซึ่งมีฟังก์ชั่นถ่ายดอนของตัวกรองสัญญาณนี้ดังนี้
F(S)
=
เมื่อ
t1
= R1C
เราจะได้ฟังก์ชั่นถ่ายโอนของตัวสังเคราะห์ความถี่ดังนี้
2
H2 (S) = 2 2
เมื่อ
wn
=
qN(S)
=
-244-
จากความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ เราสามารถหาฟังก์ชั่นถ่ายโอน H(S) ของตัวสังเคราะห์ความถี่ได้ดังนี้
H(S)
=
ซึ่งจะเห็นว่ารูปของสมการนี้จะอยู่ในรูปของฟังก์ชั่นถ่ายโอน H(s) ของตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่าน
โดยการใช้ตัวกรองสัญญาณในรูปที่ 1.9 ซึ่งมีฟังก์ชั่นถ่ายโอนดังนี้
V
F(S) = V
เมื่อ
t
= RC
ดังนั้นฟังก์ชั่นถ่ายโอนของตัวกรองสัญญาณคือ
H1(S) = 2
ถ้าเราใช้ค่า Damping factor t และ Natural frequency wnแทนค่าลงในสมการล่าสุด เราจะได้
2
H(S) =
2
2
เมื่อ
ต่อไปทำการพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดกับความถี่เอาต์พุตของตัวสังเคราะห์ความถี่ fO เมื่อความถี่ fN มีค่าน้อยกว่าความถี่เอาต์พุตที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตัวประกอบการหาร N (ตามรูปที่ 1.11)
เนื่องจากระบบที่มีออร์เดอร์เท่ากับ 2 (จากฟังก์ชั่นถ่ายโอน H(S)ของตัวสังเคราะห์ความถี่ที่ได้พบว่ามีออร์เดอร์เท่ากับ 2 ) จะทำให้สัญญาณเอาต์พุตมีค่าตามสัญญาณอินพุตแต่จะมีการประวิงเวลาและการแกว่งรอบ ๆ สัญญาณอ้างอิงเกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระบวนการนี้จะมีค่าขึ้นอยู่กับค่า damping factor ของตัวกรองสัญญาณ ซึ่งมีค่าขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรกรองสัญญาณนั่นเอง
รูปที่ 1.12 แสดงให้การตอบสนองทรานเชียนต์ที่ผ่านการนอรมอลไลซ์แล้วของระบบที่มีตัวกรองสัญญาณตามวงจรในรูปที่ 1.9 และในรูปที่ 1.13 เป็นการตอบสนองทรานเชียนต์ของระบบที่มีตัวกรองสัญญาณตามวงจรในรูปที่ 1.10
-245-
จากรูปทั้งสองเราจะเห็นได้ว่าในกรณีหลังนั้นกราฟจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่ากรณีแรก
นั่นคือมีการตอบสนองที่เร็วกว่าในกรณีแรก
Vin Vout
C
รูปที่ 1.9 วงจร R-C ที่ใช้เป็นวงจรกรองสัญญาณ
R1
Vin
Vout
R2
C
รูปที่ 1.10 วงจร R-C ที่ใช้เป็นวงจรกรองสัญญาณ
-246-
รูปที่ 1.11 การตอบสนองทรานเชียนต์ของตัวสังเคราะห์ความถี่
รูปที่ 1.12
-247-
รูปที่
1.13
รายละเอียดวงจร
รูปที่ 2.1 แสดงไดอะแกรมของวงจรสมบูรณ์ของแผงการทดลอง ซึ่งประกอบด้วย
-
ตัวเปรียบเทียบเฟสและ VCO
-
Prescaler
-
ตัวหารแบบโปรแกรมได้โดยการปรับโรตารี่สวิตช์
-
ตัวหารแบบค่าคงที่
-
ออสซิลเลเตอร์แบบใช้ผลึกควอตซ์
-
มิกเซอร์
- ตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่าน
-248-
-
ในหัวข้อถัดไปเราจะได้อธิบายถึงรายละเอียดในแต่ละส่วนของวงจรของตัวสังเคราะห์ความถี่หลาย
ๆ แบบ
รูปที่
2.1 วงจร
2.1 ตัวสังเคราะห์ความถี่แบบ Direct
โดยการใช้วงจรในรูปที่ 2.1 เราสามารถสร้างตัวสังเคราะห์ความถี่แบบ Direct ได้ตามวงจรในรูปที่ 2.2
ซึ่งเราจะใช้
-
ออสซิลเลเตอร์แบบควอตซ์ที่มีตัวหารแบบค่าคงที่
(IC11 IC1-IC2 IC3 IC4A)
-
ตัวเปรียบเทียบเฟส(IC9A)
-
ตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่าน(R10
R11 C4)
-
VCO(IC9B)
-
ตัวหารแบบโปรแกรมได้(IC5-IC6-IC7)
ต่อไปจะเป็นส่วนอธิบายหลักการทำงานของวงจรในแต่ละส่วน
-249-
2.1.1 ออสซิลเลเตอร์แบบควอตซ์
ออสซิลเลเตอร์นี้จะใช้เกท NAND 2 ตัว โดยมีการป้อนกลับผ่านผลึกควอตซ์ที่มีความถี่ 1 MHz
ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ CV1 ถูกใช้สำหรับปรับค่าความถี่ให้ถูกต้อง ส่วนเกทตัวที่สามที่เชื่อมต่อระหว่างออสซิลเลเตอร์กับวงจรที่เชื่อมต่อกับออสซิลเลเตอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์
ถ้าเราต้องการสร้างสัญญาณความถี่ต่ำ (ซึ่งทำได้ยากในกรณีที่ใช้ออสซิลเลเตอร์แบบผลึกควอตซ์ในการสร้าง) สามารถทำได้โดยการต่อวงจรหาร 10 สามวงจร (IC1 IC2-IC3) เพื่อหารความถี่ของสัญญาณที่ได้เช่น
1000
kHz/1000 = 1 kHz
ซึ่งจะใช้วงจรนับสำหรับการหารสอง(โดยใช้ฟลิปฟลอป IC4 ในการสร้าง) หารอีกครั้งสำหรับเหตุผลนั้นจะอธิบายในหัวข้อที่ 2.1.4 ซึ่งเราจะได้ความถี่อ้างอิง
fR
= 500 Hz
และใช้ทรานซีสเตอร์ T1เชื่อมต่อระหว่างวงจร
TTL(IC4) และวงจร CMOS(IC9A)
2.1.2 ตัวเปรียบเทียบเฟส,ตัวแสดงการ lock และตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำผ่าน
วงจรรวม IC9(CD4046 ดูรายละเอียดและคุณสมบัติในภาคผนวกท้ายเล่ม)จะประกอบด้วยวงจรเปรียบเทียบเฟส,ภาคกำเนิดสัญญาณด้วย VCO ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไปโดย CD4046 นั้นจะมีตัวเปรียบเทียบเฟสอยู่ 2 แบบ โดยแบบแรกนั้นจะใช้วิธีการ Exclusive-OR ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้นจะใช้วิธีการ Edge-trigged(เช่นจะทำงานเมื่อขอบขาขึ้นของสัญญาณเข้ามาที่อินพุต)
ในกรณีนี้เราจะใช้ตัวเปรียบเทียบเฟสแบบสุดท้าย ซึ่งจะมีรายละเอียดการทำงานดังนี้
สัญญาณอ้างอิง fR จะป้อนเข้าที่ขา 14 และสัญญาณป้อนกลับที่ได้จากตัวหารแบบโปรแกรมค่าได้จะป้อนเข้าที่ขา 13
ตัวเปรียบเทียบเฟสจะทำงานเมื่อขอบของสัญญาณปรากฎ นั่นหมายความว่าในระหว่างดิวตี้ไซเกิ้ลนั้นจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้าสัญญาณอ้างอิงมีเฟสนำหน้าสัญญาณจากตัวหารแบบโปรแกรมได้จะทำให้เอาต์พุตของตัวเปรียบเทียบเฟส
(ขา 13) มีค่าสูงในช่วงระหว่างเวลาของขอบของสัญญาณทั้งสอง(ดูรูปที่ 2.3)
ถ้าสัญญาณทั้งสองมีเฟสเดียวกันจะทำให้เอาต์พุตของตัวเปรียบเทียบสัญญาณเสมือนเปิดวงจร แต่ถ้าสัญญาณอ้างอิงมีเฟสล้าหลังสัญญาณจากตัวหารแบบโปรแกรมค่าได้ จะทำให้เอาต์พุตของตัวเปรียบเทียบสัญญาณมีค่าต่ำ ดังนั้นในขณะที่อยู่ในสภาพ no lock จะทำให้เราได้สัญญาณพัลส์สลับกันระหว่างพัลส์บวกและพัลส์ลบ และจะทำให้เกิดการประจุและคายประจุกับตัวเก็บประจุของตัวกรองสัญญาณ ซึ่งเอาต์พุตของตัวกรองสัญญาณนี้จะได้แรงดันไฟฟ้าเพื่อนำไปขับภาค VCO จนกระทั่งระบบอยู่ในสภาพที่สามารถ lock ได้
เมื่ออยู่ในสภาพนี้แล้วเอาต์พุตของตัวเปรียบเทียบเฟสสัญญาณจะเสมือนเปิดวงจรและทำให้ตัวเก็บประจุรักษาค่าแรงดันของตัวไว้สำหรับควบคุมการทำงานภาค VCO ให้ถูกต้องต่อไป
-250-
รูป
2.2
DIRECT
SYNTHESIZER
-251-
ตัวกรองสัญญาณจะมีคุณสมบัติตามมารตรฐานที่ได้ออกแบบไว้จากโรงงานผู้ผลิตตัวไอซีดังนี้
FR
(pin 14)
FN
(pin 3)
OUTPUT(pin 13)
OF
PHASE COMPARATOR low
OUTPUT OF
LOW-PASS FILTER
OUTPUT OF high
LOCK INDICATOR
(pin 1)
low
รูปที่
2.3 รูปคลื่นของตัวเปรียบเทียบเฟส
-252-
เมื่อ
N คือค่าของตัวหารในส่วนของการป้อนกลับ
fmax คือความถี่เอาต์พุตสูงสุด
f
= fmax - fmin
วงจรรวมจะส่งสัญญาณที่มีระดับแรงดันสูงไปยังขา 1 เมื่อระบบ PLL สามารถล็อกความถี่ได้ และจะส่งสัญญาณที่มีระดับแรงดันต่ำไปแทนในกรณีกลับกัน (ดูรูปที่ 2.2)
สัญญาณนี้จะถูกกรองโดย R7 C2 แล้วนำไปขับทรานซีสเตอร์ T3 และ LED เพื่อใช้ในการแสดงสภาพการทำงานของ PLL
2.1.3 ภาค VCO
ใช้ไอซี CD4046 ที่มีวงจรของภาค VCO อยู่ภายใน
โดยจะรับแรงดันควบคุมที่ได้จากวงจรกรองสัญญาณความถี่ต่ำที่ขา 20 และส่งสัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมไปยังเอาต์พุตที่ขา 4
จากรายละเอียดของโรงงานผู้ผลิตทำให้เราทราบได้ว่าความถี่กึ่งกลาง ความถี่สูงสุดและความถี่ต่ำสุดนั้นจะถูกกำหนดโดยตัวเก็บประจุที่ต่อระหว่างขา 6 และ 7 และตัวต้านทานที่ต่ออยู่ระหว่างขา 11 และ 12 ซึ่งเป็นไปตามสมการดังนี้
-253-
ช่วง Capture range และ Lock range จะมีค่าเท่ากัน ซึ่งจะมีค่าดังนี้
fmax
- fmin
ช่วง Lock range คือข่วงของความถี่ที่มีค่าใกล้ fO ซึ่ง PLL ยังคงสามารถล็อคความถี่ให้ใกล้เคียงกับสัญญาณ
อินพุตได้
ช่วง Capture range ปกติจะมีค่าต่ำกว่า Lock range โดยเป็นค่าที่บอกช่วงของความถี่ที่ใกล้ fO ที่ PLL สามารถจะล็อคความถี่ได้