วิชา  ระบบสื่อสารแอนะลอก

หน่วยที่  1  ชื่อหน่วย  การมอดูเลตแอมพลิจูด(AMPLITUDE  MODULATION)                                จำนวน  9  คาบ

ใบงานที่  2  ชื่องาน  ดัชนีการมอดูเลตแบบเอเอ็ม                                                                                         จำนวน  1  คาบ

 


จุดประสงค์ทั่วไป

                เพื่อให้เข้าใจการทำงานการมอดูเลตแบบเอเอ็ม

 

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.       คำนวณค่า K ของการมอดูเลตแบบเอเอ็ม ได้

2.       คำนวณค่าแอมพลิจูดของคลื่นพาห์ได้

3.       คำนวณเปอร์เซนต์ ดัชนี การมอดูเลตได้

 

เนื้อหา

                จากสมการการมอดูเลตแบบ AM

                Vm (t)  =  [A + K. B. Sin(2p¦.t). Sin (2pF.t)

                             =  A[1 + m Sin (2pF.t)

                       K   =  ค่า constant proportionality

                จากรูป

                                ค่า K ของการมอดูเลตมีค่าเท่ากับ C/B

 

                                ค่าแอมพลิจูดของคลื่นพาห์ A  =  H + h  

                                ดังนั้น ค่าเปอร์เซนต์ดัชนีการมอดูเลต คือ

 

 

                                                m  =  H - h   .100%

 

เครื่องมือและอุปกรณ์

                1.  แผงทดลองหมายเลข     T10A, T10B                                           1  ชุด

                2.  แหล่งจ่ายไฟ     ± 12 Vdc                                                              1  เครื่อง

                3.  ออสซิโลสโคป                                                                                 1  เครื่อง

                4.  สายต่อวงจร                                                                                     30  เส้น

 

ลำดับการทดลอง

1.      

ต่อแผงทดลองตามรูป และจ่ายไฟ  ± 12 V.  ให้กับวงจร

 

2.       ตั้งค่า FUNCTION GENERATOR ที่แผง T 10 A  โดยใช้ออสซิโลสโคปวัดสัญญาณที่ OUT (6)

·       JUMP J1  สัญญาณ sine

·       ปรับปุ่ม  LEVEL  =  0.5  Vp-p

·       ปรับปุ่ม   FREQ.  =  1  KHz

3.       ตั้งค่า Vco2  ที่แผง 10 A โดยใช้ออสซิโลสโคปวัดสัญญาณที่จุด RF/FM OUT (12)

·       ปรับปุ่ม  LEVEL  =  1  Vp-p

·       ปรับปุ่ม   FREQ.  =  450  KHz

4.       ตั้งค่า BALANDCED MODULATOR 1 ที่แผง T 10 B โดยใช้ออสซิโลสโคปวัดสัญญาณที่ OUT (3)

·       ปรับปุ่ม CARRIER NULL  โดยหมุนตามเข็ม หรือทวนเข็มนาฬิกา เพื่อหา  unbalance modulator

·       ปรับปุ่ม OUT LEVEL จนได้สัญญาณที่เหมาะสม